ความต่างกันระหว่างเพศ ของ คอร์ปัส คาโลซัม

ความสัมพันธ์ของ corpus callosum กับเพศได้เป็นประเด็นอภิปรายทั้งในหมู่นักวิทยาศาสตร์และคนทั่ว ๆ ไปอื่นมาเป็นศตวรรษแล้วงานวิจัยในเบื้องต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 อ้างว่า เพศชายเพศหญิงมีขนาด corpus callosum ที่แตกต่างกันแต่ว่า งานวิจัยนั้นไม่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปและในที่สุด ก็เกิดการใช้วิธีการสร้างภาพในสมองที่ทันสมัยกว่าที่ดูเหมือนว่า จะหักล้างสหสัมพันธ์เกี่ยวกับขนาดที่พบมาก่อนนั้นเมื่อมีวิธีการสร้างภาพทางกายภาพใหม่ ๆ เกิดขึ้น จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบงานวิจัยในสมองอย่างสำคัญและความสัมพันธ์ระหว่างเพศและ corpus callosum ก็ได้กลายมาเป็นประเด็นงานวิจัยที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปีที่ผ่านมา

งานศึกษาดั้งเดิมและข้อขัดแย้ง

นักกายวิภาค อาร์. บี. บีน จากเมืองฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาแรกเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเพศของ corpus callosumผู้เสนอในปี ค.ศ. 1906 ว่า "ขนาดที่ใหญ่เป็นพิเศษของ corpus callosum อาจหมายถึงความฉลาดเป็นพิเศษ"และว่า มีความแตกต่างทางขนาดที่เห็นได้ในระหว่างเพศชายและเพศหญิงและอาจจะเป็นเพราะความคิดทางการเมือง (และสังคมสิ่งแวดล้อม) ในสมัยนั้นเขาก็ยังได้เสนอว่า มีความแตกต่างของขนาดในระหว่างเชื้อชาติต่าง ๆ อีกด้วยแต่ว่าในที่สุด งานวิจัยของเขาถูกหักล้างโดยแฟรงกริน มอลล์ ผู้เป็นผู้อำนวยการของแล็บที่บีนทำงานอยู่[13]

ในปี ค.ศ. 1982 ราล์ฟ ฮอล์โลเว และเดอลาโคสต์-อุทัมซิง เขียนบทความที่มีอิทธิพลในนิตยสาร Scienceว่ามีความแตกต่างระหว่างเพศในสมองมนุษย์ทางสัณฐานวิทยาซึ่งส่งผลให้มีความแตกต่างกันทางสมรรถภาพการประมวลผลข้อมูลทางจิตใจ (ประชาน) [14]่ส่วนบทความที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1992 ในนิตยสารไทม์ เสนอว่าเพราะว่า corpus callosum "มักจะกว้างกว่าในสมองของเพศหญิงมากกว่าเพศชายซึ่งอาจจะเปิดโอกาสให้มีการสื่อสารกันในระดับที่สูงกว่าในระหว่างซีกสมองทั้งสองข้างและอาจจะเป็นฐานทางชีวภาพของสัญชาตญาณผู้หญิง"[15]

แต่ผลงานตีพิมพ์หลังจากนั้นในสาขาจิทวิทยาได้ตั้งประเด็นสงสัยว่า มีความแตกต่างระหว่างขนาดของ corpus callosum จริง ๆ หรือไม่งานอภิวิเคราะห์ (meta-analysis) ของงานวิจัย 49 งานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 พบว่าโดยขัดแย้งกับการค้นพบของเดอลาโคสต์-อุทัมซิงและฮอล์โลเวไม่ปรากฏว่า มีความแตกต่างกันระหว่างเพศของขนาด corpus callosumไม่ว่าจะทำการพิจารณาขนาดโดยสัดส่วนของสมองเพศชายที่ใหญ่กว่าหรือไม่ (คือถ้าสมองใหญ่กว่าก็ควรจะมี corpus callosum ที่ใหญ่กว่า ดังนั้น ถ้าจะเทียบขนาดของ corpus callosum ให้ดี จึงควรที่จะพิจารณาตามสัดส่วนของขนาดสมอง) [13]ในปี ค.ศ. 2006 ภาพ MRI ทำในระดับที่ละเอียดไม่พบความแตกต่างระหว่างเพศของความหนาของ corpus callosum แม้ว่าจะทำการพิจารณาขนาดโดยสัดส่วนของร่างกายของผู้ได้รับการทดสอบ[16]

การสร้างภาพในสมอง

ในปีที่ผ่าน ๆ มา สมรรถภาพในการตรวจสอบกายวิภาคและการทำงานของสมองมนุษย์มีการเติบโตแทบเป็นแบบชี้กำลัง มีผลเป็นการเปลี่ยนแบบอย่างทางด้านความคิดในปัจจุบัน มีการใช้ภาพ MRI ในการวิเคราะห์ ทั้งทางด้านกายวิภาค และทั้งทางด้านสรีรวิทยา (การทำงาน) ของร่างกายเช่น โดยใช้การสร้างภาพแบบ Diffusion MRI[17]ก็จะสามารถวัตอัตราการแพร่ของโมเลกุลเข้าไปยังและออกมาจากเนื้อเยื่อเฉพาะที่ทิศทางของแอนไอโซทรอปี (anisotropy)และอัตราเมแทบอลิซึม ได้การวัดค่าเหล่านี้ พบว่า มีความแตกต่างระหว่างเพศที่คงเส้นคงวาของ corpus callosum ทางสัณฐานวิทยาและทางโครงสร้างระดับไมโคร[ไหน?][18][19][20]

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการใช้การวิเคราะห์แบบ morphometric[21]เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ 3-มิติ ทางคณิต พร้อมกับภาพ MRI ด้วยซึ่งพบว่า มีความแตกต่างระหว่างเพศที่คงเส้นคงวาและปรากฏเป็นนัยสำคัญทางสถิติ[22][23]ในงานวิจัยหนึ่ง ขั้นตอนวิธีบางอย่างพบความแตกต่างระหว่างเพศในเค้สกว่า 70% อย่างมีนัยสำคัญ[24]

ความผิดปกติของอัตตลักษณ์ทางเพศ

มีงานวิจัยเกี่ยวกับรูปร่างสัณฐานของ corpus callosum ของบุคคลผู้มีความผิดปกติของอัตตลักษณ์ทางเพศ (gender identity disorder)นักวิจัยได้แสดงว่า บุคคลผู้เป็นชายโดยชีวภาพแต่มีความรู้สึกว่าเป็นผู้หญิง มี corpus callosum ที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือนของเพศหญิง (โดยกำหนดในช่วงที่คลอด)และโดยนัยเดียวกับ บุคคลผู้เป็นหญิงโดยชีวภาพแต่มีความรู้สึกว่าเป็นผู้ชาย ก็มี corpus callosum มีรูปร่างสัณฐานเหมือนกับของเพศชายผู้ตีพิมพ์บทความนี้อ้างว่า รูปร่างสัณฐานของ corpus callosum กำหนด "เพศที่รู้สึก" ของบุคคลโดยไม่ได้คำนึงถึงเพศโดยชีวภาพ[24]

ความสัมพันธ์ระหว่าง corpus callosum และเพศ ก็ยังเป็นประเด็นอภิปรายที่แอ๊กถีฟทั้งในหมู่นักวิทยาศาสตร์และในบุคคลทั่วไปในปัจจุบันนี้

แหล่งที่มา

WikiPedia: คอร์ปัส คาโลซัม http://books.google.com/books?id=6kGARvykJKMC&lpg=... http://books.google.com/books?id=7InmnW9ul7gC&lpg=... http://books.google.com/books?id=NSydTn-XELwC&lpg=... http://books.google.com/books?id=x3S5v971Nk0C&lpg=... http://www.medicalnewstoday.com/releases/47193.php http://www.rightdiagnosis.com/artic/ninds_agenesis... http://www.webmd.com/epilepsy/corpus-callosotomy http://education.yahoo.com/reference/gray/subjects... http://adsabs.harvard.edu/abs/1933PNAS...19..609K http://adsabs.harvard.edu/abs/1982Sci...216.1431D